บทความ

ละลายหมู ไมโครเวฟอย่างไรไม่ให้เสียรสชาติ

ละลายหมู

ละลายหมู ไมโครเวฟ อย่างไรไม่ให้เสียรสชาติ วันนี้พิชชามีทมีเคล็ดลับมาบอก! ต้องขอบอกก่อนว่า การนำเนื้อหมูไปแช่แข็ง เป็นวิธีการเก็บเนื้อหมูไว้ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง หรือต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส เพื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในเนื้อหมู ลดการเจริญเติบโตและการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรีย จุลินทรีย์ รวมถึงช่วยให้สามารถถนอมเนื้อหมูไว้ใช้ได้ในระยะยาว โดยยังคงสามารถรักษาสภาพ สี กลิ่น รส และคุณค่าทางสารอาหารไว้ได้อย่างครบถ้วน

ละลายหมู ไมโครเวฟ แล้วยังมีวิธีละลายหมูด้วยวิธีไหนอีก

โดยปกติแล้ว อาหารแช่แข็งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คืออาหารพร้อมปรุงเช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ และอาหารทะเล ส่วนอาหารพร้อมรับประทานคือ ผัก ผลไม้ และอาหารที่ผ่านกระบวนการชุบเกล็ดขนมปัง การบดแล้วนำมาขึ้นรูป หรือ การปรุงให้สุกก่อน นอกจากการเก็บรักษาอาหารไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสมแล้ว การนำมาใช้และการทำละลายอาหารแช่แข็งก็เป็นขั้นตอนสำคัญ ที่จะทำให้คุณค่าของสารอาหารสามารถส่งตรงถึงผู้บริโภคได้เต็มที่ ซึ่งนอกจากการ ละลายหมูไมโครเวฟ แล้วยังมีวิธีละลายหมูอีกหลากหลายวิธีให้คุณได้เลือกใช้ตามความถนัดหรือระยะเวลาที่มีอยู่ ดังนี้

1.ละลายหมู ในตู้เย็น 

คือการนำเนื้อหมูจากช่องแช่แข็งมาใส่ไว้ในช่องธรรมดา หรือตู้เย็นช่องปกติประมาณ 1-2 องศาเซลเซียส แช่ทิ้งไว้ 1 วันเพื่อให้เนื้อหมูที่ถูกแช่ทิ้งไว้ค่อยๆ ละลายเกล็ดน้ำแข็งที่เกาะอยู่ตามเส้นใยเนื้อหมูอย่างช้าๆ วิธีนี้อาจจะใช้เวลาค่อนข้างนานและเสียเวลา แต่จะทำให้เนื้อหมูไม่เสียรสชาติและรสสัมผัสที่ดี ที่สำคัญควรเช็กสภาพเนื้อหมูก่อนนำไปปรุงอาหารทุกครั้ง

2.ละลายในน้ำเย็น

ให้นำเนื้อสัตว์ที่แช่แข็งใส่ในถุงพลาสติกที่ปิดสนิท โดยเทน้ำให้ท่วมชิ้นเนื้อหมู แล้วปล่อยแช่ทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง หรือเมื่อจับแล้วเนื้อสัมผัสดูนิ่ม ซึ่งน้ำเย็นจะช่วยถ่ายเทความร้อนจากอากาศด้านนอก และรักษาอุณหภูมิผิวหน้าของอาหารไม่ให้สูงเกินไป จึงสามารถรักษารสชาติและเนื้อสัมผัสของเนื้อหมูได้ดี และที่สำคัญควรเปลี่ยนน้ำทุกๆ 30 นาที จะช่วยทำให้เนื้อหมูละลายได้เร็วขึ้น แต่ไม่ควรแช่ในน้ำอุ่นเพราะจะทำให้เนื้อหมูนั้นละลายเร็วเกินไปและเสียรสชาติได้นั่นเอง

3.ละลายหมูไมโครเวฟ

ละลายหมูไมโครเวฟ สามารถทำได้โดยนำเนื้อสัตว์ออกจากถุงที่บรรจุไว้ แล้วนำใส่เข้าไปในไมโครเวฟ กดปุ่มละลายน้ำแข็ง (Defrost) หรือกำลังไฟต่ำปานกลางประมาณ 160-200 วัตต์ คอยเปิดเช็กบ่อยๆ ทุก 45 วินาที ทำจนครบ 2-4 นาที หรือจนกว่าเนื้อหมูเริ่มคืนตัว จากนั้นสามารถนำไปปรุงอาหารได้ทันที แต่การทำละลายวิธีนี้จะทำให้เนื้อหมูได้รับความร้อนเป็นจุดๆ ไม่สม่ำเสมอเท่ากัน อาจทำให้เสียความชุ่มชื้นและเสียรสชาติได้เล็กน้อย

4.ละลายเนื้อหมูด้วยหม้อสเตนเลส หรือหม้อทองเหลืองที่ทุกคนรู้จัก

ให้นำเนื้อหมูแช่แข็งมาห่อด้วยฟิล์มถนอมอาหาร แล้วนำไปวางระหว่างก้นหม้อสองใบ จากนั้นให้ทิ้งไว้เป็นระยะเวลาประมาณ 10-15 นาที หม้อสเตนเลสจะค่อยๆ ดูดความเย็นทำให้เนื้อหมูค่อยๆ ละลายและมีความนิ่มลง ข้อแนะนำให้นำหม้อไปอังไฟให้พออุ่นๆ จะช่วยให้ละลายเนื้อหมูได้ง่ายขึ้น

5.ละลายด้วยการห่อแผ่นฟอยล์

ให้นำแผ่นฟอยล์มาห่อเนื้อหมูทั้งชิ้นให้มิด ทิ้งไว้ 10-15 นาที เพียงเท่านี้เนื้อหมูก็จะละลายพร้อมนำไปปรุงสุกได้ทันที ซึ่งการละลายเนื้อหมูแช่แข็งอาจจะทำให้สูญเสียรสชาติไปบ้าง แต่ก็ถือว่าเป็นวิธีทำละลายได้รวดเร็วและสะดวกมากขึ้น

6.นำเนื้อหมูมาปรุงสุกทันที

วิธีนี้อาจจะเหมาะกับอาหารแช่แข็งพร้อมรับประทาน เช่น นักเก็ต เฟรนฟรายซ์ อาหารทะเลแช่แข็ง เป็นต้น โดยนำออกจากช่องแช่แข็ง วางทิ้งไว้สักพัก แล้วนำไปทอดในน้ำมันได้ทันที หรือ นำไปปรุงสุกได้ด้วยกรรมวิธีการนึ่ง อบ หรือต้ม

ละลายหมู ไมโครเวฟ แล้วสามารถนำกลับไปแช่ตู้เย็นได้อีกไหม ? 

ละลายหมูไมโครเวฟ แล้วนำกลับไปแช่ตู้เย็นได้อีกไหม คงเป็นคำถามที่ใครหลายๆ คนสงสัย โดยทั่วไปแล้วเนื้อสัตว์แช่แข็งทุกชนิดเมื่อผ่านการนำไปทำละลายแล้วไม่ควรนำกลับไปแช่อีก เพราะอาจจะทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตขึ้นมาได้และอาจมีเนื้อสัมผัสที่ไม่เหมือนเดิม นอกจากว่าเราจะนำเนื้อทั้งหมดไปปรุงสุกให้หมดก่อน จึงสามารถนำกลับไปแช่ก็จะสามารถเก็บได้นาน 3-4 วัน โดยเนื้อหมูที่จะนำกลับไปแช่ต้องไม่ถูกทิ้งไว้นอกตู้เย็นเกิน 2 ชั่วโมง

นอกจากนี้พิชชามีทจะแจกเกร็ดสาระน่ารู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับอายุการเก็บอาหารแช่แข็งให้ฟังกันค่ะ

  • เบคอน แฮม และไส้กรอก สามารถเก็บได้ประมาณ 1-2 เดือน
  • ซุปและอาหารที่ผ่านการเคี้ยว ปรุงรสมาแล้ว สามารถเก็บได้ 2-3 เดือน
  • อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง สามารถเก็บได้ 3-4 เดือน
  • เนื้อสดชิ้นใหญ่ สามารถเก็บได้ 4-12 เดือน
  • เนื้อสดบด  สามารถเก็บได้ 3-4 เดือน
  • เนื้อสัตว์ที่สุกแล้ว สามารถเก็บได้ 2-3 เดือน
  • เนื้อเป็ด เนื้อไก่เป็นตัว สามารถเก็บได้ 12 เดือน
  • เนื้อเป็ด เนื้อไก่ หั่นเป็นชิ้น สามารถเก็บได้ 9 เดือน
  • เครื่องในเป็ด ไก่สด สามารถเก็บได้ 3-4 เดือน
  • เนื้อเป็ด เนื้อไก่ที่สุกแล้ว สามารถเก็บได้ 4 เดือน
  • อาหารทะเล เช่น กุ้ง ปู สามารถเก็บได้ 6 เดือน
  • อาหารทะเล เช่น หอย สามารถเก็บได้ 4 เดือน
  • ปลาไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาบะ สามารถเก็บได้ 4 เดือน
  • ปลาเนื้อขาว เช่น ปลากระพง ปลาหิมะ สามารเก็บได้ 8 เดือน

ทุกคนก็ได้รู้กันไปแล้วว่าการ ละลายหมู ไมโครเวฟ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร และวิธีละลายหมูด้วยกรรมวิธีอื่นๆ สามารถทำได้อย่างไรบ้าง นอกจากนี้ สิ่งสำคัญในการเก็บเนื้อหมูให้สดใหม่ และเก็บได้ยาวนานคือ การเลือกซื้อเนื้อหมูคุณภาพดี มีเนื้อสีชมพูตามธรรมชาติ และไม่มีสีแดงจนเกินไป หากสั่งซื้อเนื้อหมูกับพิชชามีทก็หมดห่วงข้อดังกล่าวไปได้เลย เพราะเนื้อหมูเรา สดใหม่ สะอาด ได้รับมาตรฐาน มีคุณภาพดีแน่นอน สามารถสั่งซื้อได้ที่ Line @pitchameat

เรื่องที่เกี่ยวข้อง