ข่าวสารและกิจกรรม, บทความ

ศึกษาก่อนเสี่ยง โรคร้ายที่มากับ หมูกระทะ

หมูกระทะ

แม้ว่า หมูกระทะ จะเป็นอาหารที่ถูกปากคนไทยอย่างมาก ไม่ว่าจะเทศกาลไหนก็ต้องได้รับประทานอาหารชนิดนี้ เพราะมีส่วนต่าง ๆ ของเนื้อหมูที่อร่อยชวนลิ้มลอง เช่น หมูสามชั้น หมูสไลด์ เป็นต้น แต่ความจริงแล้ว หมูกระทะกลับมีโทษร้ายแรงหากกินอย่างไม่ระวัง เพราะ หมูกระทะ มีส่วนประกอบหลายอย่างที่ต้องคำนึงถึงอย่าง ความสดใหม่ ความสะอาด และไร้สารพิษ

หากเราทานของที่ไม่สะอาด หรือปรุงไม่สุก ก็จะเสี่ยงเป็นต่อการเป็นโรคร้ายที่อันตรายถึงชีวิตได้  วันนี้พิชชามีท จะพาทุกท่านไปเรียนรู้เกี่ยวกับโรครุนแรงที่เกิดขึ้นได้จากการกิน หมูกระทะ และเรียนรู้วิธีป้องกันไปด้วยกัน 

ตามหาคำตอบ หมูกระทะ อันตรายขนาดนั้นเลยหรือ ?

การรับประทาน หมูกระทะ ต้องมีการก่อไฟ และย่างอาหารบนเตา ทำให้เกิดการเผาไหม้ และควันไฟ สิ่งนี้นี่เองที่ทำให้เกิดอันตราย โดยนายแพทย์นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัยปีพ.ศ. 2565 ได้ให้ข้อมูลว่า ขณะปิ้งย่างไขมัน หรือน้ำมันจะหยดไปบนเตาไฟ ทำให้เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ก่อให้เกิดสารพีเอเอช (PAH) ลอยขึ้นมาพร้อมเขม่าควันเกาะที่บริเวณผิวของอาหาร หากกินเข้าไปเป็นประจำจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง

นอกจากนี้ยังมีอันตรายจากส่วนอื่น ๆ เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล อาหารแปรรูป เป็นต้น ซึ่งเป็นอาหารที่สามารถปนเปื้อนได้ เราจะไปดูกันว่าส่วนประกอบในหมูกระทะแบบไหนที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย 

โปรดระวัง ! สารพิษที่มาจาก หมูกระทะ อันตรายจากอาหารแสนอร่อย

  • ปลาย่าง ปลาทะเลย่าง 

สารไนโตรซามีน (Nitrosamines) พบได้ในปลาย่าง และปลาทะเลย่าง ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็งในสัตว์ได้ เช่น เกิดมะเร็งในตับ ไต หลอดอาหาร และกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็งในตับ มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหารในคนได้ 

  • อาหารแปรรูปในหมูกระทะ เช่น ไส้กรอก ลูกชิ้น

อาหารแปรรูปมีสารไนไตรท์ และเมื่อร่างกายได้รับปริมาณมากๆ จะไปขัดขวางการลำเลียงออกซิเจนในร่างกาย ก่อให้เกิดสภาวะที่เนื้อเยื่อ และอวัยวะภายในร่างกายเกิดภาวะขาดออกซิเจน จนอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ นอกจากนี้ สารไนไตรท์ยังสามารถทำปฏิกิริยากับเอมีนในเนื้อสัตว์ โดยเมื่อผ่านการปรุงสุกจะเกิดเป็นสารก่อมะเร็งไนโตรซามีนขึ้น

  • ส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหารใน หมูกระทะ

ส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหารปิ้งย่าง ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมูประเภทใด เช่น หมูสไลด์ หมูสันคอ หากย่างนานเกินไปก็อาจจะเกิดการไหม้เกรียม มีการพบสารกลุ่มพัยโรลัยเซต (Pyrolysates) คือสารอินทรีย์ พวกกรดอะมิโน ซึ่งสารอินทรีย์นี้ถูกทำลายโดยความร้อนสูงจนกลายเป็นสารใหม่ที่มีโมเลกุลซับซ้อนมากขึ้น

จากการศึกษาฤทธิ์ต่อการกลายพันธุ์ของพัยโรลัยเซต พบว่าสารกลุ่มนี้บางชนิดมีฤทธิ์ร้ายแรงทางพันธุกรรมมากกว่าสารอะฟลาท็อกซินตั้งแต่ 6-100 เท่า สารพัยโรลัยเซตสามารถรวมตัวทางชีวเคมีกับดีเอ็นเอ แล้วเป็นสารก่อการกลายพันธุ์ได้ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง

  • ควันไฟจากการย่างหมูกระทะ

สารกลุ่มโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic aromatic hydrocarbon) เป็นสารเริ่มต้นของสารกลายพันธุ์ (Premutagen) และสารเริ่มต้นของสารก่อมะเร็ง (Precarcinogen) ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกันกับที่เกิดในควันไฟ

3 โรคต้องรู้ ! ภัยร้ายแรง แฝงตัวมากับ หมูกระทะ

1. โรคไข้หูดับ

  • สาเหตุของโรคไข้หูดับ 

เกิดจากการติดเชื้อสเตรฟโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus Suis) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในหมูเกือบทุกตัว โดยเชื้อชนิดนี้จะไม่ก่อให้เกิดโรค แต่หากหมูเกิดอาการป่วยเชื้อชนิดนี้ก็จะค่อยๆ เพิ่มจำนวนมากขึ้น จนทำให้หมูตัวนั้นตาย และสามารถติดต่อไปสู่คนได้ 2 ทาง คือ เกิดจากการบริโภคเนื้อ และเลือดหมูแบบดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ และการสัมผัสเนื้อหมูที่มีเชื้อโดยตรง จากทางบาดแผล เยื่อบุตา และสัมผัสสารคัดหลั่งของหมู 

  • พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเป็นโรคไข้หูดับ

การรับประทานหมูไม่สุก และการใช้ตะเกียบคีบเนื้อหมูดิบในการรับประทานหมูกระทะ

  • อาการของโรคไข้หูดับ

โรคหูดับ จะมีระยะฟักตัวในร่างกายก่อนที่จะแสดงอาการไม่เกิน 3-5 วัน ส่วนใหญ่จะมีอาการไข้สูง ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะจนทรงตัวไม่ได้ บางรายที่มีอาการรุนแรง

ซึ่งส่งผลให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ  และเกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้ประสาทหูอักเสบจนหูดับ หรือหูหนวก และหากทิ้งไว้นานจะทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดจนอันตรายถึงชีวิตได้

  • วิธีการรักษาโรคไข้หูดับ 

การรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะผ่านทางหลอดเลือดดำ อย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ และรักษาแบบประคับประคองอาการของผู้ป่วยไม่ให้รุนแรงยิ่งขึ้น คือ ลดไข้ ลดอาการปวด ลดอาการเวียนศีรษะ ร่วมกับการให้สารอาหารหรือเกลือแร่ต่างๆ ให้กับผู้ป่วย

  • วิธีป้องกัน

  1. รับประทานหมูที่ปรุงสุกแล้ว 
  2. หากต้องเลือกเนื้อหมูมาประกอบอาหาร ควรเลือกจากแหล่งที่ได้มาตรฐาน อย่าง พิชชามีท
  3. หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์อันเดียวกันที่ใช้หยิบเนื้อหมูสุก และเนื้อหมูดิบ
  4. สังเกตตนเอง หากมีอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์

2. โรคมะเร็ง

  • สาเหตุของโรคมะเร็ง 

เกิดจาก 3 สารอันตรายที่ได้รับมาจากการรับประทานหมูกระทะ ได้แก่ สารไนโตรซามีน (Nitrosamines) สารกลุ่มพัยโรลัยเซต (Pyrolysates) และสารในกลุ่มของพีเอเอช (PAHs) โดยการปนเปื้อนของสารก่อมะเร็งจะพบได้ในส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหาร พบในควันที่เกิดจากการปิ้งย่างของอาหารและควันที่เกิดจากการเผาไหม้ของเตาถ่าน

  • พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง 

รับประทานหมูกระทะเป็นประจำ และชอบรับประทานส่วนไหม้เกรียม

  • อาการของโรคมะเร็ง

  1. ในช่วงแรกจะไม่แสดงอาการ
  2. มีความผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกาย เช่น มีเลือดออกผิดปกติ จากทวารต่าง ๆ แผลซึ่งรักษาแล้วไม่ยอมหาย มีก้อนตุ่มที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นต้น
  3. มีอาการป่วยของโรคทั่วไป เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ร่างกายทรุดโทรม ไม่สดชื่น และไม่แจ่มใส
  4. มีอาการที่บ่งบอกว่า มะเร็งอยู่ในระยะลุกลาม ได้แก่ อาการเจ็บปวด ที่แสน ทุกข์ทรมาน
  • วิธีรักษาโรคมะเร็ง 

การรักษามะเร็งที่รู้จักกันทั่วไป และเป็นวิธีการหลัก ๆ มี 3 วิธี ได้แก่ การผ่าตัด รังสีรักษา และยาเคมีบำบัด ส่วนที่มีการใช้แพร่หลายอย่างมากในปัจจุบัน คือ ยามุ่งเป้า และภูมิคุ้มกันบำบัด ซึ่งจะมีข้อบ่งชี้ที่เฉพาะ

  • วิธีป้องกันโรคมะเร็ง

เมื่อปิ้งหรือย่างเสร็จแล้วให้ตัดเนื้อส่วนที่ไหม้เกรียมทิ้งให้มากที่สุดก่อนจะนำมารับประทาน เพื่อช่วยลดสารก่อมะเร็งที่มากับเนื้อส่วนที่มีรอยไหม้ ไม่ควรรับประทานปิ้งย่างติดต่อกันนานจนเกินไป

3. โรคท้องร่วง

  • สาเหตุของโรคท้องร่วง 

ในหมูกระทะ มีส่วนประกอบที่อาจพบสารปนเปื้อน อย่างเช่น สารบอแรกซ์ เมื่อร่างกายได้รับ และสะสมกันเป็นจำนวนมากจะก่อให้เกิดพิษแก่ร่างกาย ในระบบทางเดินอาหาร 

  • พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเป็นโรคท้องร่วง

การรับประทานอาหารที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น เนื้อหมูที่มีสีแดงผิดปกติ 

  • อาการของโรคท้องร่วง

แน่นท้อง ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน บางรายอาจมีไข้ บางรายที่ถ่ายอุจจาระบ่อย ๆ ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมาก อาจรู้สึกหน้ามืดเป็นลม หรือช็อกหมดสติ

  • วิธีรักษาโรคท้องร่วง 

  1. รับประทานน้ำเปล่าอุณหภูมิห้องผสมน้ำเกลือแร่ (ORS) แทนการสูญเสียน้ำ และเกลือแร่
  2. รับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก แกงจืด
  3. งดอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของหมักดองต่าง ๆ  
  • วิธีการป้องกัน

หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ เน้นการรับประทานอาหารที่ปรุงสุก ถูกสุขลักษณะ และล้างมือให้สะอาดเป็นประจำก่อนรับประทานอาหาร จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าโรคที่เกิดจากการกิน หมูกระทะ นั้นมีความรุนแรง แม้ว่าจะไม่ได้เกิดขึ้นทันที แต่เมื่อเรารับประทานบ่อย ๆ ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรค ซึ่งทั้งสามโรคที่กล่าวไปข้างต้น มีผลร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต 

ดังนั้น เราจึงควรรับประทาน หมูสไลด์ หมูกระทะ อย่างระมัดระวัง พยายามลดควันที่เกิดจากการเผาไหม้ด้วยการใช้เตาไฟฟ้า และไม่รับประทานส่วนที่ไหม้เกรียม โดยเลือกวัตถุดิบที่ได้มาตรฐาน ซึ่งสำหรับใครที่กำลังมองหา เนื้อหมูที่มีคุณภาพและปลอดภัยจาก พิชชามีท  สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดต่อได้ที่ Line: @pitchameat

เรื่องที่เกี่ยวข้อง