บทความ

รู้หมือไร่ ? เนื้อหมู อยู่นอกตู้เย็นได้กี่ชั่วโมง

เนื้อหมู อยู่นอกตู้เย็นได้กี่ชั่วโมง

ด้วยสภาพอากาศประเทศไทยที่ร้อนขึ้นทุกวัน ๆ ก่อนจะเลือก เนื้อหมู หรือเนื้อสัตว์อื่น ๆ มาประกอบอาหาร คุณควรตรวจสอบให้ดีก่อนว่า เนื้อหมูเสียหรือยัง มีกลิ่นเหม็นหืน หรือมีสีเปลี่ยนไปบ้างไหม เพราะหากได้นำเนื้อหมูที่เสียแล้วไปทำอาหาร อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ และร่างกายของคุณได้ 

ซึ่งบางคนอาจจะมีคำถามในใจว่า เนื้อหมู อยู่นอกตู้เย็นได้กี่ชั่วโมง และวิธีการเก็บรักษาเนื้อหมูให้อยู่ได้นาน ๆ ต้องทำอย่างไรบ้าง พิชชามีท ตัวแม่เรื่องหมู ๆ มีคำตอบมาให้ ไปดูกันเลย

เนื้อหมู อยู่นอกตู้เย็นได้กี่ชั่วโมง เช็กให้ชัวร์ก่อนรับประทาน

เนื้อหมู อยู่นอกตู้เย็นได้กี่ชั่วโมง ? คำตอบ คือ ตามหลักสุขอนามัยแล้ว ไม่ควรทิ้งเนื้อหมูสดไว้นอกตู้เย็นเกิน 4 ชั่วโมง ด้วยความที่อุณหภูมิห้องของประเทศเราค่อนข้างสูง โดยจะอยู่ที่ประมาณ 38-42 องศาเซลเซียส ส่งผลให้เชื้อโรคเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ จนเสี่ยงต่อภาวะอาหารเป็นพิษ หากเนื้อหมูสดไม่ได้รับการเก็บรักษาที่ถูกต้อง 

ซึ่งทุกคนสามารถเช็ก และตรวจสอบสัญญาณการเน่าเสียของเนื้อหมูได้โดยวิธีเบื้องต้น คือ สังเกตกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ดูสี และเนื้อสัมผัสของเนื้อหมูว่าผิดปกติหรือไม่ แต่ถ้าหากไม่มั่นใจว่าเนื้อหมูเสียแล้วหรือยัง สามารถเช็กได้ตามข้อสังเกตด้านล่างได้ ดังนี้

  • ดูวันหมดอายุข้างผลิตภัณฑ์

อายุการเก็บรักษาเนื้อหมูสดจะอยู่ที่ประมาณ 1-3 วัน แต่หากเป็นเนื้อหมูสุกจะอยู่ที่ 7-10 วัน หรือหากพบว่าเนื้อหมูหมดอายุแล้วให้ทิ้งทันที เพื่อป้องกันกลิ่นเหม็นไม่พึงประสงค์ เชื้อโรค และแบคทีเรียต่าง ๆ  ที่ก่อให้เกิดภาวะอาหารเป็นพิษได้

  • ทิ้งเนื้อหมูสดที่อยู่ในตู้เย็นเกิน 5 วัน

ระยะเวลาที่สามารถเก็บเนื้อหมูสดไว้ในตู้เย็น ขึ้นอยู่กับว่าคุณซื้อเนื้อหมูแบบบด หรือแบบหั่นชิ้น ซึ่งเนื้อหมูบดสามารถอยู่ในตู้เย็นได้ 1-2 วันนับจากวันที่ขาย แต่หากเป็นเนื้อหมูหั่นชิ้น หรือชิ้นสเต๊ก จะอยู่ในตู้เย็นได้ 3-5 วัน นอกจากนี้การเก็บเนื้อหมูจะอยู่ได้นานขึ้นหากเก็บไว้ในช่องแช่แข็ง

  •  ดมว่ามีกลิ่นเหม็นไม่พึงประสงค์หรือไม่

เนื้อหมูที่เสียแล้วจะมีกลิ่นเหม็นแรงเฉพาะตัว หรือถ้าเนื้อหมูเริ่มมีกลิ่นหืนแปลว่าเนื้อหมูน่าจะเสียแล้ว และไม่ควรนำมารับประทานเด็ดขาด โดยเฉพาะเนื้อหมูที่เลยวันหมดอายุไปแล้ว 

  • อย่ารับประทานเนื้อหมูที่มีสีเริ่มคล้ำเขียว

เนื้อหมูที่เริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียว หรือน้ำตาลเขียวคล้ำ ๆ ไม่ควรนำมารับประทานโดยเด็ดขาด เพราะนั่นเป็นสัญญาณว่าเนื้อหมูเริ่มเน่าเสียแล้ว ให้ทิ้งทันที

  • ดูสัมผัสของเนื้อหมู

เนื้อหมูที่เสียแล้ว จะมีสัมผัสที่เหนียว และถ้าคุณรู้สึกว่ามีคราบเหนียว ๆ ลื่น ๆ คล้ายเมือกเคลือบบนเนื้อหมู ให้ทิ้งไปได้เลย เพราะว่ามีแบคทีเรียเริ่มขยายพันธ์ุบนเนื้อหมูของคุณแล้ว

ไม่รู้ต้องอ่าน!! วิธีการเก็บรักษาเนื้อหมูประเภทต่าง ๆ 

  •  เนื้อหมูสด (Fresh Pork)

คือ เนื้อหมูสีแดงสดที่ผ่านการชำแหละ หรือตัดแต่ง โดยไม่ผ่านการลดอุณหภูมิในห้องเย็น ซึ่งจะมีอายุจำหน่ายวันต่อวัน อาทิเช่น เนื้อหมูที่วางขายตามตลาดเป็นเนื้อที่มีความเหนียว แต่มีรสชาติปกติ เนื่องจากไม่มีการเปลี่ยนแปลงของค่า PH และเมื่อซื้อเนื้อสดมาแล้วควรใช้ให้หมดภายในครั้งเดียว แต่ถ้าเหลือให้นำใส่กล่องพลาสติกให้มิดชิด และนำเข้าช่องแช่แข็งในตู้เย็น จะช่วยยืดอายุของเนื้อหมูได้ 1-2 วัน

  • เนื้อหมูแช่เย็น (Chilled Pork)

คือ เนื้อหมูที่ผ่านการแช่เย็น เพื่อลดอุณหภูมิให้อยู่ที่ 0-4 องศา โดยมีความชื้นร้อยละ 86 ถึง 95 ซึ่งปัจจุบันเนื้อแช่แข็งเป็นที่นิยมกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การนำเนื้อไปตัดแต่งแล้วบรรจุไว้ในถาด พร้อมทำการแรปพลาสติกเอาไว้ หรือนึกภาพง่าย ๆ ก็คือเนื้อหมูที่วางขายตามซูเปอร์มาร์เก็ต โดยข้อดีของการเก็บเนื้อหมูแช่เย็น มีดังนี้

  • ช่วยป้องกันไม่ให้เนื้อเสีย

 เพราะเนื้อหมูเสี่ยงต่อการเน่าเสียจากแบคทีเรีย เชื้อโรค และจุลินทรีย์

  • แช่เย็นเนื้อหมูเพื่อบ่มให้นุ่ม 

หลังจากแช่เย็นในอุณหภูมิ และระยะเวลาที่เหมาะสมแล้ว จะเกิดกระบวนการบ่มจากเอนไซม์ในเนื้อ ทำให้เนื้อหมูมีความนุ่ม อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความเข้มข้นของรสชาติเนื้อหมูได้อีกด้วย

  • เนื้อแช่แข็ง (Frozen Pork)

คือ เนื้อหมูที่ผ่านการลดอุณหภูมิให้อยู่ที่ -18 องศา เพื่อยืดอายุการเก็บเนื้อหมูให้อยู่ได้นานยิ่งขึ้น ซึ่งคุณภาพของเนื้อหมูจะขึ้นอยู่กับความเร็วในการแข็งตัว โดยการแช่แข็งสามารถแบ่งได้ 2 วิธี ได้แก่

  • แช่แข็งแบบน้ำ

จะเกิดผลึกน้ำแข็งที่มีขนาดใหญ่ และแหลมคม ส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายนอกเซลล์ และผลึกเหล่านี้จะทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ และเมื่อทำการละลายน้ำแข็ง จะเกิดการสูญเสียน้ำ (Drip Loss) ในเนื้อมากกว่าแบบแช่เย็น ทำให้เนื้อมีสัมผัสแห้ง และคุณค่าทางอาหารลดลง

  • แช่แข็งแบบฉับพลัน

จะได้ผลึกที่เล็ก และละเอียด ส่วนใหญ่จะเกิดภายในเซลล์ เมื่อทำการละลายเซลล์ยังมีสภาพดีอยู่ จึงสูญเสียน้ำน้อยกว่า ซึ่งวิธีนี้มักนิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการทำเนื้อแช่แข็งเพื่อส่งขาย

วิธีป้องกันไม่ให้เนื้อหมูเน่าเสีย และเก็บได้นาน

  • ไม่ควรละลายเนื้อหมูบนเคาน์เตอร์ครัว

เนื้อหมู ที่เอาออกจากตู้เย็น หรือช่องแช่แข็งเป็นเวลานาน มีความเสี่ยงต่อการเน่าเสีย เนื่องจากการนำเนื้อสัตว์มาไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลานาน ถือเป็นการเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่เนื้อจะเน่าเสียได้ ดังนั้นจึงควรละลายเนื้อหมูด้วยไมโครเวฟ เพราะเป็นทั้งวิธีที่เร็ว และปลอดภัยมากกว่า นอกจากนี้การละลายเนื้อหมูแช่แข็งในตู้เย็น ก็เป็นอีกทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าการละลายบนเคาน์เตอร์

  • เก็บเนื้อหมูไว้ในอุณหภูมิที่ปลอดภัย

อย่างไรก็ตาม ควรเก็บเนื้อหมูไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส แต่หากเก็บไว้ในอุณหภูมิที่อุ่นกว่านี้ อาจทำให้เนื้อหมูเสียได้

  • นำเนื้อหมูเข้าช่องแช่แข็งหากไม่ได้รับประทาน

ถึงแม้ว่าเนื้อหมูจะเก็บไว้ในตู้เย็นได้ไม่กี่วัน แต่ถ้าอยู่ในช่องแช่แข็งจะช่วยเพิ่มอายุการเก็บรักษาเนื้อหมูได้ โดยนำเนื้อหมูใส่ในภาชนะที่ปิดสนิท และแช่แข็งไว้จนกว่าจะเอาออกมารับประทาน 

  • อย่ารับประทานเนื้อหมูที่หมดอายุ หรือไม่ได้แช่ไว้ในตู้เย็น

สำหรับเนื้อหมูที่หมดอายุ อาจมีแบคทีเรียที่เป็นอันตรายปนเปื้อนได้ ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานเนื้อหมู ที่วางทิ้งไว้นอกตู้เย็นนานเกินไป หรือเลยวันที่ขายมานานแล้ว

  • เช็กอุณหภูมิด้านในของเนื้อหมูขณะทำอาหาร

ด้วยความที่เราไม่สามารถตรวจเช็กแบคทีเรีย ที่เกิดจากอาหารได้ทั้งหมด ดังนั้นการปรุงเนื้อหมูในอุณหภูมิที่ถูกต้อง จึงเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดภาวะอาหารเป็นพิษ ซึ่งการปรุงเนื้อหมูให้สุกควรเลือกอุณหภูมิประมาณ 49-74 องศาเซลเซียส จะเหมาะสมมากที่สุด

สุดท้ายนี้หวังว่าทุกคนจะได้รู้ว่า เนื้อหมู อยู่นอกตู้เย็นได้นานกี่ชั่วโมง และสามารถนำสาระในวันนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยหัวใจสำคัญคือต้องเลือกเนื้อหมูที่สด สะอาด ปลอดภัย และได้มาตรฐาน อย่าง พิชชามีช หากสนใจต้องการสั่งซื้อเนื้อหมู สามารถติดต่อได้ที่ Line: @pitchameat

เรื่องที่เกี่ยวข้อง