ไม่มีหมวดหมู่

ไขข้อสงสัย ! คนไทยสมัยก่อนไม่กิน เนื้อหมู จริงหรือ ?

เนื้อหมู

ปฏิเสธไม่ได้ว่า เนื้อหมู เป็นวัตถุดิบสำหรับทำอาหารที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน แต่เมื่อมองย้อนกลับไป กลับพบว่าเมนูไทยที่ใส่เนื้อหมูนั้นค่อนข้างน้อย โดยส่วนใหญ่จะนิยมใส่เนื้อปลา เนื้อไก่ และเนื้อกุ้งมากกว่าจนทำให้หลายคนสงสัยว่า คนไทยในอดีตไม่รับประทานหมูหรือเปล่า ทั้งยังมีข้อโต้แย้งในโซเชียล เรื่องที่มีการฉายละครในยุคอยุธยาแต่ตัวละครหลักนั้นนั่งรับประทานหมูกระทะ และมีผู้มาโต้แย้งว่าคนไทยสมัยนั้นไม่กินหมู

เพราะเลี้ยงไม่เป็น และไม่คุ้มค่าแก่การซื้อมารับประทาน เพราะราคาแพง และอาจรับประทานไม่หมด ด้วยประเด็นเหล่านี้ทำให้ความสงสัยเกี่ยวกับการรับประทานหมูในอดีตของคนไทยเพิ่มมากขึ้น วันนี้พิชชามีท จึงจะพามาเรียนรู้เกี่ยวกับ เนื้อหมู ว่ามีการค้าขายอย่างไร และมีความนิยมมากน้อยเพียงใด ในสมัยอดีตของประเทศไทย หากพร้อมแล้ว เราไปดูกันได้เลย

สำรวจแนวคิด ! เนื้อหมู กับการกินสัตว์ใหญ่ในสมัยอยุธยา

จากบันทึกของ นิโกลาส์ แชรแวส นักเดินทางชาวฝรั่งเศสที่ติดตาม คณะเผยแพร่ศาสนาเข้ามาในสยามเมื่อในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช ได้กล่าวไว้ว่า คนไทยรับประทานอาหารแบบอดออม ในมื้อหนึ่งมักจะกินแค่ข้าวที่หุงขึ้นเองกับเนื้อปลาแห้ง และผลไม้

ซึ่งแม้แต่ชนชั้นสูง ก็ไม่ได้กินต่างจากนี้มากเท่าไร อีกทั้งได้บันทึกไว้ว่า คนไทยไม่กินเนื้อวัว เพราะมีความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาพุทธ โดยมีการระบุว่าพระพุทธเจ้าเคยเสวยชาติเป็นพระโค จึงถือว่าการบริโภคเนื้อวัวนั้นผิดพุทธบัญญัติ และเป็นการละเมิดศาสนา

เนื้อหมู ถือเป็นสัตว์ใหญ่ด้วยไหม ?

ความเชื่อดังกล่าวยังรวมไปถึงการหลีกเลี่ยงบริโภคสัตว์สี่ขา ซึ่งหมูก็เป็นสัตว์สี่ขา เพราะเชื่อกันว่าฆ่าไม่ได้ เนื่องจากอาจจะไปเป็นวิญญาณพ่อแม่ หรือมิตรสหายของตนเองกลับชาติมาเกิด ซึ่งในบันทึกได้ระบุอีกว่า แม้ความคิดดังกล่าวจะมีอยู่ แต่ในตอนนั้นก็ได้มีการลดความเชื่อลงมาบ้างแล้ว อย่างไรก็ตามก็ยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ หลัง ๆ มาจึงได้เลือกบริโภคตามแบบที่ทุกคนสบายใจ จากบันทึกจึงจะเห็นได้ว่าคนไทยในสมัยก่อน มีความเชื่อที่เคร่งครัดเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

โดยในทางศาสนานั้นไม่ได้มีการห้ามอย่างชัดเจน แต่ผู้คนมักจะเกรงกลัวบาป จึงเป็นเหตุที่ส่งผลต่อการกินหมูของคนในสมัยก่อน ทั้งนี้สำหรับผู้ที่ต้องการข้อมูลอย่างแน่ชัด สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือต่าง ๆ ที่มีความเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม การบริโภคเนื้อหมูของคนไทยในสมัยก่อนยังมีให้เห็นอยู่ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเราจะพาไปดูกันว่าบันทึกเหล่านั้นกล่าวไว้อย่างไรบ้าง

4 แหล่งที่มา ชี้หลักฐานคนไทยค้าขาย เนื้อหมู ในสมัยอยุธยา

หลักฐานหลัก ๆ ที่พบเห็น จะเป็นบันทึกจากสมัยอยุธยา เพราะเป็นยุคที่มีต่างชาติเข้ามาทำการค้าขาย และมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม จึงทำให้มีผู้ทำบันทึกถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ไว้ โดยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องการบริโภค เนื้อหมูในสมัยอยุธยา มีดังนี้

  • รอมแพง ผู้เขียนบทละครบุพเพสันนิวาส

คุณรอมแพง ผู้เขียนบทละครที่เป็นประเด็นการโต้แย้งเรื่องการรับประทานหมูในสมัยอยุธยา โดยได้ออกมาบอกข้อเท็จจริงว่า สมัยอยุธยามีเนื้อหมูขายอยู่ที่ย่านในไก่ ตลาดน้อยเป็นย่านของคนจีนที่นิยมฆ่า และกินหมู ซึ่งคุณรอมแพงแต่งเนื้อหาให้นางเอกไปซื้อหามาจากที่นั่น อีกทั้งยังมีการให้ข้อมูลอีกว่า ในสมัยนั้นเนื้อหมูถือเป็นสิ่งหายาก และราคาแพง จากคำบอกกล่าว จึงอาจจะสรุปได้ว่า ส่วนใหญ่จะเป็นคนชนชั้นสูงที่สามารถซื้อหมูมาบริโภคได้ เพราะมีกำลังซื้อเพียงพอนั่นเอง

  • จดหมายเหตุของคณะพ่อค้าฝรั่งเศส

ในสมัยนั้น มีจดหมายเหตุของพ่อค้าฝรั่งเศสที่มีการบันทึกเกี่ยวกับสถานการณ์ข้าวยากหมากแพงในสมัยอยุธยา โดยมีบางช่วงที่กล่าวถึง เนื้อหมู ซึ่งระบุไว้ว่า “อาหารการกินในเวลานี้แพงอย่างที่สุด จะหาซื้อไก่ หมู โค และปลา ก็เกือบจะไม่ได้” ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในสมัยนั้นมีการซื้อขายเนื้อหมูอยู่เช่นกัน

  • พระอัยการเบ็ดเสร็จ (เบ็ดเตล็ด)

เป็นบทบัญญัติที่ครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ หลายด้าน เช่น เรื่องสิทธิเกี่ยวกับการทำเกษตร การซื้อขาย การจราจร และเรื่องความปลอดภัยทั่วไป ในบทบัญญัตินี้เองที่มีการบันทึกไว้ว่า ในสมัยอยุธยาคนไทยมีการเลี้ยงหมู โดยระบุไว้ว่า ผู้ที่เลี้ยงสุกรจะต้องทำเล้าไว้ จึงจะได้รับการคุ้มครอง ซึ่งหมูที่ไม่มีเล้าก็จะไม่ได้รับการคุ้มครอง จึงแสดงให้เห็นว่าหมูมีความสำคัญถึงขั้นมีการบัญญัติคุ้มครองนั่นเอง

  • คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม

คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง ว่าด้วยที่ค้าขายนอกกรุง ระบุว่า บ้านปากข้าวสาร บ้านในคลองสวนพลู ใต้ศาลเจ้านางหินลอย มีพวกจีนตั้งโรงต้มสุรา และเลี้ยงสุกรขาย ซึ่งตรงกับหลักฐานอื่นหลาย ๆ แหล่ง ที่บอกว่าในสมัยอยุธยาผู้ที่ค้าขายเนื้อหมูมักจะเป็นพ่อค้าชาวจีน

อาหารชาววัง ที่มี เนื้อหมู เป็นองค์ประกอบ

อย่างไรก็ตาม แม้อาหารไทยจะพบเนื้อหมูได้น้อย แต่ก็มีหลายเมนูที่ปรากฎในพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ว่าด้วยเรื่อง บทเห่ชมเครื่องคาว ซึ่งหลาย ๆ คนคงได้ท่องเป็นบทอาขยานในสมัยมัธยม ซึ่งจะพบว่ามีเมนูที่ใช้วัตถุดิบ เนื้อหมู ดังนี้

  • ยำใหญ่ 

เป็นอาหารไทยที่มีรสชาติครบถ้วน เปรี้ยว เผ็ด เค็ม หวาน เป็นอาหารที่ใส่ส่วนผสมหลายอย่าง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเนื้อหมูต้ม โดยเป็นอาหารที่อร่อย และได้สารอาหารมากมาย

  • หมูแนม

เป็นอาหารว่างที่ทำจากเนื้อหมู โดยมีการใช้เนื้อหมู หนังหมู และหมูสามชั้น ยำรวมกันด้วยเครื่องต่าง ๆ มีรสชาติเปรี้ยวเค็มคล้ายยำ และลาบ

  • แกงเทโพ

แกงเทโพ สามารถใช้เนื้อปลา หรือเนื้อหมูสามชั้นก็ได้ มีลักษณะเป็นแกงที่ใส่กะทิ และผักบุ้ง มีรสชาติกลมกล่อมถึงรสความมันของกะทิ และเนื้อหมู

  • ตับเหล็กลวก 

ตับเหล็ก คือ ม้ามของหมู ซึ่งเป็นส่วนของเครื่องในหมูที่สามารถนำมาลวกและรับประทานกับน้ำจิ้ม และผัก เช่น แตงกวา ผักกาดหอม เป็นต้น

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า คนไทยในสมัยก่อนมีการบริโภคเนื้อหมู แต่อาจจะมีปริมาณน้อย เพราะมีราคาแพง และหาได้ยาก เพราะสมัยก่อนยังมีความเชื่อเกี่ยวกับบาปของการฆ่าสัตว์ใหญ่ อย่างไรก็ตาม ก็มีหลักฐานมากมายที่แสดงถึงการค้าขายเนื้อหมูในสมัยนั้น อีกทั้งในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ยังปรากฎเมนูเนื้อหมูอยู่ในบทพระราชนิพนธ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเนื้อหมูก็มีความอร่อยเหมาะมาทำเป็นอาหาร

ซึ่งในปัจจุบัน เนื้อหมูก็เป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะหาซื้อได้ง่าย และผ่านการดูแลมาอย่างดี จนได้เนื้อหมูที่มีคุณภาพและปลอดสารพิษมากขึ้น อย่างเช่น เนื้อหมู ของ พิชชามีท ที่มีความสดใหม่คุณภาพ ปลอดสารเร่งเนื้อแดง และบริการด้วยใจทุ่มเท ในราคาที่ย่อมเยา หากสนใจสามารถขอข้อมูล เพิ่มเติม หรือติดต่อได้ที่ Line: @pitchameat

ข้อมูลหลักฐานการค้าขายเนื้อหมูในสมัยอยุธยา จาก https://www.sanook.com/news/9076794/

เรื่องที่เกี่ยวข้อง